สำนักงานพิศิษฐ์ ศรีสังข์ ทนายความ

สำนักงานพิศิษฐ์ ศรีสังข์ ทนายความ สำนักงาน พิศิษฐ์ ศรีสังข์ ทนายความ ? เผยแพร่บทความกฎหมายน่าสนใจ ตัวอย่างการต่อสู้คดี เทคนิคและเคล็ดลับในการดำเนินคดี จากประสบการณ์จริงของทนายความ

ตอนนี้ไม่ควรพลาดนะครับ
03/01/2025

ตอนนี้ไม่ควรพลาดนะครับ

ท่านอาจารย์คำนวณ ชโลปถัมภ์ ทนายความอาวุโส อดีตนายกสภาทนายความแห่งประเทศไทย ในพระบราชาชูปถัมภ์ คนแรก จะมา...

23/11/2024

การกล่าวโทษคืออะไร ?
ส่วนใหญ่พบในกรณีไหนสามารถเอาไปปรับใช้ยังไงได้บ้าง ?
ติดตามได้ในคอมเม้นครับ

20/11/2024

ซื้อโดยสุจริต vs เจ้าของทรัพย์
ใครชนะ ?

19/11/2024

"ฟ้องซ้อน"
ข้อกฎหมายและทางปฏิบัติเป็นยังไง?
ธรรมดาจะพลาดกันเพราะอะไร ?
ติดตามได้ในคอมเม้นครับ

18/11/2024

หลักการต่อสู้คดีอาญา
ประเด็นเรื่อง โจทก์กลั่นแกล้งฟ้องคดี โดยไม่สุจริต (ปวิอ.161/1)

17/11/2024

ทนายความสามารถใช้ ai เช่น chatgpt gememi ในการช่วยเหลือการทำงานยังไงได้บ้าง
สรุป 5 แนวทางพร้อมตัวอย่างการใช้งาน (ในคอมเม้นท์)

16/11/2024

แก้อุทธรณ์-แก้ฎีกา ข้อกฎหมาย/เทคนิคทางปฏิบัติ แบบใช้ได้จริง !

15/11/2024

4 หลักการฟ้อง-ต่อสู้คดี กรรโชกทรัพย์

14/11/2024

3 แนวทางต่อสู้คดี ประเด็นเรื่องดอกเบี้ยเกินกฎหมาย

12/11/2024

ถูกบีบรับสารภาพในศาล! ทั้งที่ไม่ผิด ทำไงดี?

11/11/2024

ถามค้านพนักงานสอบสวนประเด็นไหนได้บ้าง ?

10/11/2024

เทคนิคและขั้นตอนการทำงานของทนายความจำเลย EP.1

09/11/2024

หลักการทำคำร้อง-คำคัดค้าน การขอทุเลาการบังคับคดี

เหตุสมควรที่บรรยายในคำร้องขอทุเลาการบังคับคดี

1.บรรยายว่าคดีของเรามีโอกาสกลับมาชนะคดีได้
2.บรรยายหากเราถูกบังคับคดีจะเสียหายอย่างไร จะทำให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมยาก
3.อธิบายว่าถึงทุเลาการบังคับคดีฝ่ายตรงข้ามก็ไม่เสียหาย คำสั่งคำร้องศาลฎีกา 51/2498
4.ยินดีวางหลักประกันความเสียหาย

การคัดค้านคำร้องขอทุเลาการบังคับคดี

คำร้องขอทุเลาการบังคับคดีไม่ใช่คำร้องขอฝ่ายเดียวดังนั้นศาลจะต้องส่งสำเนาคำร้องให้กับฝ่ายตรงข้ามคัดค้านเสมอ คำสั่งคำร้องศาลฎีกา 893/2534

และทางปฏิบัติศาลก็จะให้ระยะเวลาประมาณ 15 วันในการคัดค้าน

ในการคัดค้านคำร้องขอทุเลาการบังคับคดี เราก็ต้องทำเป็นคำคัดค้านเข้าไปครับ โดยบรรยายเนื้อหาคำคัดค้าน ตรงกันข้ามกับคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีเลย คือ

1.คดีของฝ่ายตรงข้ามไม่มีโอกาสชนะคดี
2.หากไม่ได้บังคับคดีตอนนี้เราจะเสียหาย
3.ถึงบังคับคดีไปก่อนฝ่ายตรงข้ามก็ไม่เสียหาย
4.ฝ่ายตรงข้ามไม่มีหลักประกันเลย

ดูต่อในคอมเม้น

08/11/2024

คดีบุกรุก สามารถต่อสู้ประเด็นอะไรได้บ้าง

06/11/2024

5 ขั้นตอนถามค้านคดีฉ้อโกง ประเด็นเรื่องอายุความ

1.สาเหตุที่ตกลงมอบเงินและทรัพย์สินให้
2.สาเหตุที่เริ่มสงสัย
3.ความจริงควรรู้ก่อนหน้านั้นแล้ว
4.สงสัยแล้วตรวจสอบด้วยวิธีการไหนได้ผลยังไง
5.การแจ้งความถูกต้องตามกฎหมายไหม

30/10/2024

ถาม อายุความคดีฉ้อโกง เริ่มนับเมื่อไหร่

ตอบ เมื่อรู้แน่ๆว่าถูกคนๆนั้นหลอก ไม่ใช่เมื่อแสวงหาพยานหลักฐานได้

ศึกษาจากฎีกาต่อไปนี้

ฎ.1333/2564 รู้ว่าฉ้อโกงตั้งแต่นำที่ดินคนละแปลงมาขายแล้วแต่ยังให้โอกาสมาซื้อคืน ถึงเวลาไม่ซื้อคืน อายุความเริ่มนับตั้งแต่วันที่รู้ว่าฉ้อโกง ไม่ใช่วันที่ผิดสัญญาไม่มาซื้อที่ดินคืน

ฎ. 4225/2559 ก็วินิจฉัยประเด็นทำนองเดียวกัน ก็คืออ้างว่าตัวเองถูกหลอกขายที่ดินสปก วันที่รู้ว่าตัวเองถูกหลอกก็คือวันที่ไปตรวจสอบที่ดินที่สปก ไม่ใช่มาอ้างว่ารู้ทีหลังเนื่องจากจำเลยโอนขายที่ดินของตัวเองให้บุคคลอื่นมาเป็นเหตุไม่ได้

ฎ.39/2552 ควรจะรู้ว่าถูกฉ้อโกงตั้งแต่เขาเอาทรัพย์สินไปแล้วไม่จ่ายเงินแล้วติดต่อเขาไม่ได้แล้ว ส่วนหลังจากนั้นถึงแม้ว่าเขาจะเจรจาไกล่เกลี่ยขอต่อรองที่จะผ่อนชำระแล้วถึงเวลาไม่ผ่อนชำระ อายุความก็ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่รู้ไม่ใช่วันที่เขาไม่ผ่อนชำระ

(อ่านสรุปแนวทางการถามค้านและต่อสู้คดีฉ้อโกง ในประเด็นเรื่องอายุความ ในคอมเมนท์)

29/10/2024

หลักผู้เสียหายโดยนิตินัย คืออะไร ?

หลักผู้เสียหายโดยวิธีนัยเนี่ยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2 อนุมาตรา 4 ไม่ได้วางหลักไว้เลยนะครับว่าผู้เสียหายจะต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย

แต่ว่าเป็นหลักที่ศาลฎีกาพัฒนาขึ้นมานานแล้วจากการตีความกฎหมายผ่านคำพิพากษาศาลฎีกานะครับว่า การที่ผู้เสียหายเนี่ย จะมีสิทธิ์อะไรต่างๆตามที่กฎหมายกำหนดเนี่ยเขาจะต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยด้วย

ซึ่งเป็นไปตามหลักกฎหมายทั่วไปว่า “ผู้มาศาลจะต้องมาด้วยมือบริสุทธิ์ “

คำว่าผู้เสียหายโดยนิตินัยก็คือ ผู้เสียหายเนี่ยจะต้องไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด ไม่ได้เป็นคนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดนั้นเอง

ผลเมื่อไม่ได้เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย

1.ไม่มีสิทธิ์ร้องทุกข์ แต่ยังมีสิทธิกล่าวโทษ

2.ไม่มีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม

3.ไม่มีอำนาจฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยตนเอง

4.ยังมีสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย 44/1

(อ่านบทความฉบับเต็มในคอมเม้นท์)

27/10/2024

นักร้องเรียน เรียกทรัพย์ตบทรัพย์จากคนเทาๆ ทั้งหลาย โดยขู่ว่าถ้าไม่จ่ายเงินจะร้องเรียน ออกสื่อ หรือดำเนินคดี จะถือว่ามีความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ไม่ ?

ตอบ ถึงแม้ฝ่ายตรงข้ามจะเป็นคนเทาๆ ทำผิดกฎหมาย แต่ก็เป็นหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่จะดำเนินคดีไปตามความผิด ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ตนเองเป็นผู้เสียหายโดยตรง ถ้าใช้เรื่องดังกล่าวไปเรียกร้องเงิน ก็มีความผิดฐานกรรโชกได้

แต่ก็ต้องปัจจัยอื่นๆประกอบด้วย เช่น

1.มีสิทธิเรียกร้องตามกฎหมายไหม
2เป็นคดีความผิดอาญาแผ่นดินที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย หรือความผิดที่ยอมความได้
3.มีส่วนได้เสียกับตนเองแค่ไหน
4.เรียกเงินเขาเพื่อแลกกับอะไร
5.เรียกร้องพอสมควรแก่สิทธิไหม
6.ข่มขู่ว่าจะทำอะไร

ศึกษาจากแนวคำพิพากษาศาลฎีกาเหล่านี้

ฎ.1945/2514 จำเลยได้ข่มขู่โจทก์ว่าจะเปิดเผยความลับทางการค้าต่อพ่อค้าและท้องตลาดกับเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการหลบเลี่ยงภาษีของห้างหุ้นส่วน อันจะทำให้ห้างดังกล่าวซึ่งมีโจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้รับความเสียหายจนโจทก์ยอมจะให้เงินแก่จำเลยตามที่ขู่เข็ญนั้น จึงถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337, 338 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1280/2543
วันเกิดเหตุจำเลยซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้โทรศัพท์ไปข่มขืนใจโจทก์ร่วมให้ยอมมอบเงินและรถยนต์แก่ตนโดยพูดขู่เข็ญว่าจะนำเรื่องผู้บริหารของบริษัท ท. ติดสินบนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตามข่าวในหนังสือพิมพ์ ม. ไปอภิปรายในรัฐสภาและให้ข่าวแก่หนังสือพิมพ์ อันเป็นการทำอันตรายต่อชื่อเสียงและทรัพย์สินของบริษัท ท. ซึ่งมี ป. เป็นประธานกรรมการบริษัทและมีโจทก์ร่วมเป็นผู้ช่วยบริหารงานของบริษัท จนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมยอมจะให้เงินสด 1,000,000 บาท กับรถยนต์กระบะ 1 คันแก่จำเลยตามที่ต่อรองตกลงกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2542
โจทก์และจำเลยทั้งเก้าต่างเป็นกรรมการสุขาภิบาลด้วยกัน แต่เดิมเมื่อปี 2536 สุขาภิบาลว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดห.ให้ขุดลอกอ่างเก็บน้ำในเขตสุขาภิบาล ตกลงค่าจ้างเป็นเงิน100,000 บาท แต่ยังไม่มีการจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเพราะมีเงื่อนไขว่า ในปีต่อไปหากห้างหุ้นส่วนจำกัดห.ประมูลงานจากสุขาภิบาลได้ ห้างหุ้นส่วนจำกัดห. ก็จะไม่รับเงินจำนวน 100,000 บาท ตามที่ตกลงจ้าง ต่อมาปี 2537 ห้างหุ้นส่วนจำกัดว. ซึ่งมีโจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้รับการว่าจ้างในกรณีพิเศษ จากนายอำเภอประธานคณะกรรมการสุขาภิบาล ให้ก่อสร้าง ถนน ห้างหุ้นส่วนจำกัดห. จึงไม่ได้รับงานทางคณะกรรมการสุขาภิบาลจะต้องจ่ายเงิน 100,000 บาทให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดห. การที่จำเลยทั้งเก้าเรียกร้องให้โจทก์จ่ายเงิน 100,000 บาท แก่ตน มิฉะนั้นโจทก์จะถูกร้องเรียนกล่าวหาต่อผู้ว่าราชการจังหวัดในเรื่องโจทก์ก่อสร้างถนนผิดไปจากสัญญา อันเป็นเหตุให้สัญญา ดังกล่าวระงับ และโจทก์ต้องถูกขับออกจากกรรมการสุขาภิบาลเมื่อปรากฏว่าโจทก์ต้องจ่ายเงินจำนวน 100,000 บาทให้จำเลยทั้งเก้าไปโดยกลัวต่อการข่มขู่ของจำเลยทั้งเก้าย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งเก้าใช้สิทธิโดยชอบ เพราะแม้ว่าโจทก์จะมีส่วนบกพร่องในการก่อสร้างถนนอันผิดไปจากสัญญาก็เป็นเรื่องของผู้มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ว่ากล่าวส่วนจำเลยทั้งเก้าเป็นบุคคลภายนอกย่อมไม่มีสิทธิสอดเข้าเกี่ยวข้องโดยหวังผลประโยชน์เป็นที่ตั้งการที่โจทก์ต้องจ่ายเงินให้จำเลยทั้งเก้าโดยกลัวต่อการ ข่มขู่ดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งเก้าจึงเป็น การข่มขืนใจโจทก์ให้ยอมให้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชื่อเสียงของโจทก์ซึ่งครบถ้วน ตามองค์ประกอบความผิดฐานกรรโชกแล้ว

ที่อยู่

51/29-51/30 หมู่ 4 ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
Chon Buri
20000

เวลาทำการ

จันทร์ 08:00 - 22:30
อังคาร 08:00 - 22:00
พุธ 08:00 - 22:00
พฤหัสบดี 08:00 - 22:00
ศุกร์ 08:00 - 22:00
เสาร์ 08:00 - 22:00
อาทิตย์ 08:00 - 22:00

เบอร์โทรศัพท์

+66982477807

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ สำนักงานพิศิษฐ์ ศรีสังข์ ทนายความผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง สำนักงานพิศิษฐ์ ศรีสังข์ ทนายความ:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์