26/08/2024
https://www.facebook.com/share/p/VV7HnvBnYMXaRk32/?mibextid=WC7FNe
📍 เงินเดือนกรรมการและวิธีนำเงินออกจากบริษัท
บริษัทจ่ายเงินให้เจ้าของในรูปแบบใดได้บ้าง?
➡️ เมื่อมีการจดจัดตั้งบริษัท (รวมถึงห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) แต่ในที่นี้ขอใช้เพียงคำว่าบริษัท เพื่อความเข้าใจง่ายนะคะ) ไม่ใช่ว่าเจ้าของจะคิดว่าเงินของบริษัทเป็นของตนเองแล้วจะเอาเงินออกจากบริษิทได้ตามใจชอบ
💢 เนื่องจากในทางกฎหมาย เจ้าของ(บุคคลธรรมดา) และ บริษัท(นิติบุคคล) เป็นคนละคนกัน การที่เจ้าของจะนำเงินออกจากบริษัทได้จึงจะต้องมีที่มีที่ไปชัดเจน
ว่าเป็นการจ่ายค่าอะไร เพื่อประโยชน์อะไรแก่บริษัท
วันนี้เราจะมาดูกันว่าเจ้าของจะสามารถนำเงินออกจากบริษัทได้โดยทางใดบ้าง และแต่ละทางมีข้อดี-ข้อเสียทางภาษีที่แตกต่างกันอย่างไร⁉️
1️⃣ เงินเดือนกรรมการ ค่าตอบแทนกรรมการ
คำถามยอดฮิตที่ผู้ประกอบการมักสงสัยคือ เจ้าของบริษัทสามารถจ่ายเงินเดือนให้ตัวเองได้มั้ย?
คำตอบคือ ได้ เพราะตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น บริษัทและเจ้าของเป็นคนละบุคคลกันตามกฎหมาย ดังนั้นเมื่อเจ้าของทำงานให้กับบริษัท บริษัทจึงควรจ่ายค่าตอบแทนให้กับเจ้าของ เงินเดือนเจ้าของนี้มักเรียกกันว่า เงินเดือนกรรมการ หรือ ค่าตอบแทนกรรมการ
• เมื่อบริษัทจ่ายเงินเดือนให้กับเจ้าของ เงินเดือนกรรมการที่จ่ายไปนี้บริษัทสามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ ทำให้บริษัทเสียภาษีลดลงสูงสุดถึง 20% (ขึ้นกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัท)
• และในขณะเดียวกัน เงินเดือนนี้ก็จะเป็นเงินได้ของเจ้าของ ซึ่งเจ้าของจะต้องนำไปรวมคำนวณในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
• อย่างไรก็ตามหากมีการวางแผนภาษีที่ดี บริษัทสามารถจ่ายเงินเดือนในจำนวนที่ทำให้เจ้าของไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็เป็นได้
👉 รับรู้รายได้ตามมาตรา 40(1)
👉บันทึกบัญชี
Dr.เงินเดือนกรรมการ
Cr. ภาษีหักณที่จ่าย ค้างจ่าย(ภงด.1)
เงินโอนธนาคาร
💜~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~💜
2️⃣ ค่าบริการ เช่น ค่าที่ปรึกษา ค่าจ้างทำของ
ไม่จำเป็นว่าเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นทุกคนจะต้องทำงานประจำกับบริษัทเจ้าของบางคนอาจจะไม่ได้ขายแรงงานให้บริษัท คือไม่ได้ทำงานประจำให้กับบริษัท แต่อาจจะมาช่วยให้คำปรึกษาบริษัทเป็นครั้งคราว หรือรับผิดชอบทำงานบางอย่างให้สำเร็จ บริษัทก็สามารถจ่ายเงินให้กับเจ้าของในรูปแบบค่าบริการ หรือ ค่าจ้างทำของได้ โดยการจ่ายเงินในรูปของค่าบริการ หรือ ค่าจ้างทำของ จะต้องหัก ณ ที่จ่าย 3%
👉 รับรู้รายได้ตามมาตรา 40(2)
👉บันทึกบัญชี
Dr.ค่าบริการ / ค่าที่ปรึกษา
Cr. ภาษีหักณที่จ่าย ค้างจ่าย(ภงด.3)
เงินโอนธนาคาร
💜~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~💜
3️⃣ ค่าเช่า
หากบริษัทมีการใช้สินทรัพย์ของเจ้าของ เช่น สำนักงาน, รถยนต์, ที่ดิน, โกดัง บริษัทสามารถจ่ายค่าเช่าให้กับเจ้าของเป็นการตอบแทนได้ โดยการจ่ายค่าเช่า จะต้องหัก ณ ที่จ่าย 5%
• บริษัทสามารถนำค่าเช่าไปเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ตามจำนวนที่จ่าย ยกเว้นรถยนต์สามารถใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ไม่เกินเดือนละ 36,000บาท ดังนั้นเพื่อประโยชน์ทางภาษีจึงไม่ควรจ่ายค่าเช่ารถยนต์เกินเดือนละ 36,000บาท
• เจ้าของจะต้องนำค่าเช่าที่เจ้าของได้รับไปรวมคำนวณเป็นเงินได้บุคคลธรรมดาของเจ้าของด้วย
👉 รับรู้รายได้ตามมาตรา 40(5)
👉บันทึกบัญชี
Dr.ค่าเช่า
Cr. ภาษีหักณที่จ่าย ค้างจ่าย(ภงด.3)
เงินโอนธนาคาร
💜~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~💜
4️⃣ โบนัส
บริษัทสามารถจ่ายโบนัสให้กับเจ้าของในฐานะกรรมการ
• บริษัทสามารถนำเงินโบนัสที่จ่ายนี้ไปหักเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ ทำให้บริษัทเสียภาษีลดลงสูงสุดถึง 20% (ขึ้นกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัท)
• เจ้าของจะต้องนำโบนัสไปรวมเป็นเงินได้บุคคลธรรมดาของตนเพื่อเสียภาษี ซึ่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอัตราสูงสุดสูงถึง 35% ดังนั้นในการวางแผนภาษี จึงไม่ใช่ดูแค่ว่าโบนัสช่วยลดภาษีบริษัทอย่างเดียว แต่ต้องวางแผนภาษีโดยคำนึงถึงภาษีส่วนตัวของเจ้าของด้วย
👉 รับรู้รายได้ตามมาตรา 40(1)
👉บันทึกบัญชี
Dr.ค่าโบนัส
Cr. ภาษีหักณที่จ่าย ค้างจ่าย(ภงด.1)
เงินโอนธนาคาร
💜~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~💜
5️⃣ เงินปันผล
หากมีกําไรสะสม บริษัทสามารถจ่ายปันผลให้เจ้าของในฐานะผู้ถือหุ้นบริษัทได้ โดยเงินปันผลจะถูกหัก ณ ที่จ่าย 10%
• แต่เงินปันผลจะไม่ใช่ค่าใช้จ่ายของบริษัท บริษัทไม่สามารถนำเงินปันผลจ่ายไปลดกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีได้
• เจ้าของสามารถเลือกไม่นำเงินปันผลมารวมเป็นเงินได้บุคคลธรรมดาของตนได้ (คือยอมเสียภาษีที่ 10%)
👉 รับรู้รายได้ตามมาตรา 40(4)
👉บันทึกบัญชี
Dr.กำไรสะสม
Cr. ภาษีหักณที่จ่าย ค้างจ่าย(ภงด.2)
เงินโอนธนาคาร
❤️~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~ ❤️
⏯ ข้อควรระวัง
หากกรรมการนำเงินของบริษัทออกมาใช้โดยไม่มีบิล
ค่าใช้จ่ายมาเบิกหรือถอนเงินออกไปโดยไม่รับรู้เป็นรายได้
ผลเสียที่เกิดขึ้นตามมา คือจะทำให้มีบัญชีลูกหนี้กรรมการเกิดขึ้นและเมื่อมีบัญชีลูกหนี้กรรมการเกิดขึ้นก็ต้องมีการคิดดอกเบี้ยรับหากบริษัทเสียภาษีในอัตรา 20% ก็จะทำให้ภาษีของกิจการสูงขึ้น
ยกตัวอย่าง
นาย ก เป็นเจ้าของกิจการ นำเงินออกจากบัญชีของธนาคาร 500,000 บาทโดยไม่มีบิลค่าใช้จ่ายมาเบิก
หากบริษัทมาเงินกู้กับธนาคารและเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 8% ต่อปี บริษัทจะต้องทำการคิดดอกเบี้ยเงินให้กู้กรรมการโดยคิดดอกเบี้ยอย่างน้อย 9%
นั่นหมายความว่า ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจะเท่ากับ 45,000บาท
(500,000x9%)ต่อปี
หากบริษัทเสียภาษี 20% บริษัทจะต้องนำดอกเบี้ยรับมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเป็นเงิน 9,000.-บาท
(45,000x20%)ต่อปี
และต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอีก 3.3%ของดอกเบี้ย
เป็นเงิน 1,485 บาท
(45,000x3.3%)ต่อปี
รวมเสีย 9,000+1,485 = 10,485 บาท ต่อปี
❤️~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~ ❤️
ตัวอย่างการกรอกแบบภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.40)
https://bit.ly/3Pjsv9a
❤️~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~ ❤️
♥️ สอบถาม เพิ่มเติม ♥️
Tel : 02 027 7809 , 063 665 4569
Line 💚 :
คลิกไลน์ https://lin.ee/aA0csXk
Web: www.taitoebanchee.com
Inbox 💌 : https://www.facebook.com/dnapaphat
#ทำบัญชี #รับทำบัญชี #ทำบัญชีนนทบุรี #รับจัดอบรมสัมมา #ภาษี #บัญชี #รับจดทะเบียน #ที่ปรึกษาด้านภาษี #ที่ปรึกษาด้านบัญชี #สำนักงานบัญชี #ตรวจสอบบัญชี #ประกันสังคม #กรมสรรพากร #จดทะเบียนบริษัท #จดทะเบียนหจก. #จดแก้ไขงานทะเบียน #จดเลิกกิจการ