BBI.servies ให้บริการ ยื่นภาษีเงินได้ ทุกชนิด จ?

11/11/2020
14/10/2020
29/09/2020

ข้อแตกต่างระหว่างเงินได้ 40(1) กับ 40(2)

#แก้ไข ขอบคุณคุณ พี่วิไล นักบัญชีดอทคอม

===

👍 จอมโว ภาษีง่ายๆสไตล์อาจารย์จอม

****************************************
ℹ FB Massenger | m.me/TaxEasyJomwo
🆓 LINE OpenChat | https://bit.ly/3h2UdG4
🆓 LINE OA | https://lin.ee/eECYXU2
▶ YouTube | https://bit.ly/33PkgNr

27/09/2020
23/09/2020

#รู้เหอะ..ค่าปรับทางอาญา เป็นรายจ่ายต้องห้าม

===

👍 จอมโว ภาษีง่ายๆสไตล์อาจารย์จอม

****************************************
ℹ FB Massenger | m.me/TaxEasyJomwo
🆓 LINE OpenChat | https://bit.ly/3h2UdG4
🆓 LINE OA | https://lin.ee/eECYXU2
▶ YouTube | https://bit.ly/33PkgNr

23/09/2020

#รู้เหอะ..การยื่นภ.ง.ด. 51 กับผู้สอบบัญชี

===

👍 จอมโว ภาษีง่ายๆสไตล์อาจารย์จอม

****************************************
ℹ FB Massenger | m.me/TaxEasyJomwo
🆓 LINE OpenChat | https://bit.ly/3h2UdG4
🆓 LINE OA | https://lin.ee/eECYXU2
▶ YouTube | https://bit.ly/33PkgNr

15/06/2020

อากรแสตมป์มี QR Code แล้วนะซึ่งจะระบุปีที่ออก
ใครที่ทำสัญญาจ้างทำของ, สัญญาเช่า, สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน, สัญญาเงินกู้แล้วไม่ติดอากรแสตมป์ทันที รอมาติดตอนโดนเจ้าหน้าที่เรียกตรวจระวังจะไม่รอดนะครับ (เพราะติดย้อนหลังไม่ได้แล้ว)

15/06/2020
02/06/2020
31/05/2020
31/05/2020
17/05/2020
17/05/2020
13/05/2020

ค่าอาหารเลี้ยงพนักงานขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่
หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าภาษีซื้อที่เกิดจากการที่บริษัทมีสวัสดิการเลี้ยงอาหารและเครื่องดื่มแก่พนักงาน เช่น ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้ออาหารมาเลี้ยงพนักงานในการจัดประชุม เป็นต้น
บริษัทสามารถขอภาษีซื้อคืนจากกรมสรรพากรได้ เนื่องจากเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการประกอบกิจการตามปกติ มิใช่ภาษีซื้อสำหรับค่ารับรอง

12/05/2020

ขยายอีกแล้ว!!! อัพเดทกันอีกที...
สรรพากรช่วยเหลือและบรรเทาภาระผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ
และเลี่ยงการแพร่เชื้อไวรัส COVID-19
โดยให้ขยายเวลายื่นแบบและชำระภาษีทางออนไลน์
เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินออกไปอีก...
เซฟไว้ใช้ได้เลย...แล้วฝากแชร์ต่อด้วยจ้า...

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม >> https://bit.ly/2WLhp2N
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม >> https://bit.ly/2LxeQw2

#ขยายเวลา #ยื่นออนไลน์ #ผู้ประกอบการ #นำส่งภาษี #ชำระภาษี #ยื่นแบบภาษี
#โควิด19 #เว้นระยะห่าง #กรมสรรพากร

11/05/2020
05/05/2020
28/04/2020
24/04/2020

สรุปทุกคำถาม ธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร
ส่งข้อมูลแบบไหน อะไร ยังไง เมื่อไร ?

พรี่หนอม TaxBugnoms เขียนตอบทั้งหมด
#ถ้าชอบฝากกดแชร์บอกเพื่อนด้วย

---

0

เริ่มต้นทำความเข้าใจก่อนว่า
การถูกส่งข้อมูลไม่ใช่การเก็บภาษี
การถูกส่งข้อมูลไม่ใช่ถูกเรียกตรวจทันที
การถูกส่งข้อมูลคือการถูกส่งข้อมูลเฉยๆ

1

คนที่มีหน้าที่ส่งข้อมูลให้สรรพากร
มีอยู่ 2 กลุ่ม คือ สถาบันการเงิน กับ
ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิคส์

หรือพูดสรุปง่ายๆ คือ ธนาคาร
กับ ผู้ให้บริการ E-wallet นั่นแหละ

2

ทั้งสองกลุ่มนี้ มีหน้าที่ส่งข้อมูลให้
เมื่อรายการเข้าเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนด

ซึ่งแต่ละธนาคารหรือสถาบันการเงิน
ไม่ได้เชื่อมโยงกัน แยกข้อมูลของใครของมัน
แต่ดูทุกบัญชีในธนาคารหรือสถาบันการเงินนั้น
เพื่อนำมารวบรวมตรวจสอบว่าเป็นไปตามเงื่อนไขไหม

เงื่อนไขที่ว่า คือ
ยอดเงินเข้าบัญชี (ไม่ใช่ยอดเงินออก)
และจำนวนเงินที่เข้าบัญชีทั้งหมดของบุคคล

โดยการนับข้อมูลตามเงื่อนไขที่ว่านี้
จะนับเป็นรายปี (นับทั้งปีว่าเข้าเงื่อนไขไหม)
ถ้าเข้าเงื่อนไข ถึงจะส่งข้อมูลให้สรรพากร
โดยส่งภายในวันที่31 มีนาคมของทุกปี

3

โดยเงื่อนไขที่จะส่ง มี 2 เงื่อนไข คือ

จำนวนครั้งที่เงินเข้าบัญชีทุกบัญชีรวมกัน
ตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป
ถูกส่งทันทีโดยที่ไม่ต้องสนใจจำนวนเงินรวม

และอีกกรณีหนึ่ง คือ
จำนวนครั้งที่เงินเข้าบัญชีทุกบัญชีรวมกัน
ตั้งแต่ 400 ครั้งขึ้นไป
และจำนวนเงินรวมบัญชีทุกบัญชีรวมกัน
ต้องถึง 2 ล้านบาทด้วย
โดยทั้ง 2 เงื่อนไขในกรณีนี้ต้องมาพร้อมกัน
ถ้าอันใดอันหนึ่งถึงก็ไม่ถูกส่งข้อมูล

การนับจำนวนครั้งที่ว่า นับเงินเข้าบัญชีทุกกรณี
ไม่ว่าจะโอนเข้าบัญชีตัวเองธนาคารเดียวกัน
ไม่ว่าจะโอนข้ามบัญชีผ่านต่างธนาคาร

หลักการสำคัญ คือ ถ้ามียอดเข้า
เท่ากับการนับว่านี่คือ 1 ครั้ง

4

สิ่งที่ทุกคนกังวลใจ คือ
ธนาคารจะเริ่มต้นนับข้อมูลเมื่อไรกันแน่

เพราะกฎหมายเรื่องนี้บังคับใช้
เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา

ข่าวดี คือ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม
มีกฎหมายลูกออกมาบอกว่า

การนับข้อมูลในปี 2562
จะเริ่มต้นนับตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2562

นั่นคือ ในปี 2562 นี้
จะนับเพียงแค่ 8 วันจนถึงสิ้นปี

ถ้าไม่เข้าเงื่อนไขตามที่ว่ามา
ก็ไม่มีใครถูกส่งข้อมูลให้กับสรรพากร

หรือ ถ้าให้พูดง่ายๆ กฎหมายออกมาแบบนี้
คือการบอกว่าเริ่มต้นในปี 2563 เต็มปีนั่นแหละ

ดังนั้น คนที่กังวลอยู่ สบายใจได้
แต่อย่าลืมจัดการตัวเองให้เรียบร้อยละกัน

5

สำหรับข้อมูลที่ส่งให้สรรพากรนั้น
จะเป็นข้อมูลสรุปทั้งหมด ไม่ใช่รายละเอียด

คือ

1) เลขประจำตัวประชาชน / เลขนิติบุคคล
2) ชื่อ-นามสกุล / ชือห้างหุ้นส่วนสามัญ / ชื่อคณะบุคคล / ชื่อนิติบุคคล
3) จำนวนครั้งของการฝาก หรือ รับโอนเงิน ทุกบัญชีรวมกัน
4) จำนวนเงินของการฝาก หรือ รับโอนเงิน ทุกบัญชีรวมกัน
5) เลขที่บัญชีทุกบัญชีที่มีการฝากหรือรับโอนเงิน

6

ทีนี้สิ่งที่ต้องทำความเข้่าใจ คืออะไร
พรี่หนอมเกริ่นไปแล้วแต่ขอย้ำอีกทีละกัน

การส่งข้อมูล ไม่ใช่การเรียกเก็บภาษี
แต่เป็นการส่งข้อมูลไปให้พี่สรรพากรวิเคราะห์

ดังนั้น การไม่ถูกส่งข้อมูล ก็ไม่ได้แปลว่าจะรอด
ถ้าหากสรรพากรตรวจสอบพบความผิดก็หนักอยู่ดี

สองเรื่องนี้เป็นคนละเรื่องกันที่ต้องทำความเข้าใจ
และสิ่งที่เราต้องมีจริงๆ คือ ข้อมูลของเราเองต่างหาก

หลายคนกลัวว่าจะถูกตรวจสอบ
คำตอบที่ต้องตอบก่อนคือ เรามีข้อมูลพิสูจน์หรือยัง

ถ้าเราพิสูจน์ว่ายอดเงินนั้นไม่ใช่รายได้
มันก็จบว่าเราไม่ต้องเสียภาษีได้ทันที

นี่คือสิ่งสำคัญที่ควรสนใจสุดครับ

18/04/2020
18/04/2020
17/04/2020
11/04/2020
08/04/2020

สรุปการเลื่อนเวลาการยื่นภาษี ทั้งหมด

05/04/2020
05/04/2020

ตอบคำถามพบบ่อย! เรื่องเงินสมทบประกันสังคมจากสถานการณ์โควิด-19
นายจ้างและผู้ประกันตน33 39 ยังไม่ต้องรีบนำส่ง

มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)คณะรัฐมนตรีจึงมีมติช่วยเหลือนายจ้าง ลูกจ้าง
ผู้ประกันตนในเรื่องของการลดอัตราเงินสมทบและขยายเวลาส่งเงินสมทบ ในการนำส่งเงินสมทบพบว่า สถานประกอบการและผู้ประกันตนยังมีข้อคำถามมากมาย ตนจึงได้เร่งดำเนินการรวบรวมข้อคำถามที่พบบ่อยและทำคำตอบ(ตามภาพ) เพื่อเผยแพร่แก่สถานประกอบการ ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 จะได้คลายข้อสงสัยในการนำส่งเงินสมทบ

มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวกำหนดสาระสำคัญ ดังนี้

ลดอัตราเงินสมทบ
- นายจ้าง เหลืออัตราร้อยละ 4 ระยะเวลา 3 เดือน (มี.ค. - พ.ค.63)
- ผู้ประกันตน มาตรา 33 เหลืออัตราร้อยละ 1 ระยะเวลา 3 เดือน (มี.ค. - พ.ค.63)
- ผู้ประกันตน มาตรา 39 เหลืออัตราร้อยละ 1.8 ระยะเวลา 3 เดือน (มี.ค. - พ.ค.63)

ขยายเวลาส่งเงินสมทบ นายจ้าง และ ผู้ประกันตนมาตรา 33, 39
สำหรับงวดเดือน มีนาคม – พฤษภาคม ออกไปอีก 3 เดือน
ค่าจ้าง เดือน มีนาคม 2563 ให้นำส่งภายใน 15 กรกฎาคม 2563
ค่าจ้าง เดือน เมษายน 2563 ให้นำส่งภายใน 15 สิงหาคม 2563
ค่าจ้าง เดือน พฤษภาคม 2563 ให้นำส่งภายใน 15 กันยายน 2563

ตามมติคณะรัฐมนตรีข้างต้น สำนักงานประกันสังคมได้รวบรวมข้อคำถามที่พบบ่อยพร้อมคำตอบรวมแปดข้อ(ตามภาพ) และขอเรียนว่า สถานประกอบการ ผู้ประกันตนมาตรา 33 39 ท่านยังมีเวลาถึง 3 เดือน ในการนำส่งเงินสมทบ แต่หากยังมีข้อสงสัยขอให้ติดต่อสอบถามที่หน้าเว็บไซต์ www.sso.go.th ผ่านช่องทาง E-mail : info .com Webboard (กระดานสนทนา) Live Chat รวมทั้ง Sso Fan page สำนักงานประกันสังคมกระทรวงแรงงาน

ที่อยู่


20000

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ BBI.serviesผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง BBI.servies:

แชร์


คุณอาจจะชอบ